top of page

           ๒.๑ พระอัสสชิ

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          

 

 

              ๑) ประวัติ พระอัสสชิเถระเป็นบุตรพรามณ์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ บิดาท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพรามณ์ทั้ง ๘ ที่ได้รับเชิญไปทำนายพระลักษณะ และขนานพระนามเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช โกณฑัณญะพรามณ์คนเดียวในจำนวน ๘ คนครั้งนั้นผู้เชื่อมั่นว่าเจ้าชายจะได้ตรัสรู้แน่นอน จึงชวนท่านอัสสชิพร้อมสหายไปเฝ้าปรนนิบัติ ขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกกรกริยาอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม ( ปัจจุบันเรียกว่า ถ้ำดงคศิริ

            เมื่อพระโพธิสัตว์ เจ้าทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกริยา ท่านอัสสชิได้ติดตามโกณฑัณญะหนีไปอยู่ที่ปิอิสิปตนมฤคทายวัน และหลังจากพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จไปแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ( ว่าด้วยส่วนที่สุด ๒ อย่าง, มรรคมีองค์แปด และอริยสัจ ๔ ) โปรดท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์เช่นเดียวกับสหายทั้ง ๔

            หลังจากบรรลุพระอรหันต์แล้ว พระอัสสชิเถระได้เป็นหนึ่งในจำนวนพระสาวก ๖๐ องค์ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาสพุทธศาสนารุ่นแรก ท่านได้ไปสั่งสอนประชาชนตามนิคมต่างๆ เป็นระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน จึงไปยังเมืองราชคฤห์ซึ่งในขณะนั้นพระพุทธองค์ได้ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวาย

            ท่านออกบิณฑบาตในเช้าวันหนึ่งในเมืองราชคฤห์ อริยบถอันสงบสำรวมขณะเดินบิณฑบาตรอย่ได้ประทับใจมาณพหนุ่มนามว่า อุปติสสะ ผู้พบเหตุเข้าโดยบังเอิญ อุปติสสะผู้นี้มีสหายชื่อโกลิตะ เป็นศิษย์อาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร หนึ่งในจำนวน “ครูทั้ง ๖” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ปุปติสสะและโกลิตะเห็นความไม่มีแก่นสารห่งคำสอนของสำนักตน จึงตกลงกันเงียบๆว่าจะแสวงหาแนวทางใหม่ ถ้าใครพบก่อนก็จะบอกให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ

            อุปติสสะคิดว่าตนได้พบผู้ที่ควรเป็นอาจารย์ของตนแน่แล้ว จึงติดตามท่านไปห่างๆ ครั้นได้โอกาส ขณะที่พระเถระนังฉันภัตตาหารอยู่ จึงเข้าไปนมัสการเรียนถามธรรมะจากท่าน พระเถระออกตัวว่าท่านบวชไม่นาน ไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารได้ ปุปติสสะกราบเรียนท่านว่าแสดงแต่โดยย่อก็ได้ พระเถระจึงกล่าวคาถาอันแสดงถึง “แก่น” แห่งอริยสัจ๔ รวมว่า

เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา    เตสํ เหตํ ตถาคโต

เตสญฺจ โย นิโรโธ จ       เอวํ วาที มหาสมโณ

                                    ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ      พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น

                                    และการดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น   พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้

อุปติสสะได้ฟังเพียงแค่นี้ก็ได้ “ดวงตาเห็นธรรม” (เกิดธรรมจักษุ) คือ บรรลุโสดาปัตติผล จึงรีบไปบอกแก่โกลิตะผู้เป็นสหาย โกลิตะได้ฟังคาถานั้นก็ได้บรรลุปัตติผลเช่นเดียวกัน ทั้งสองจึงไปชวนอาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตรไปบวชเป็นสาวกพระพุทธเจ้า เมื่ออาจารย์ปฎิเสธ จึงได้พากันไปบวชเป็นสาวกของพระพุทธองค์ ณ วัดเวฬุวัน

            พระอัสสชิเถระไม่ปรากฏว่าท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านใดเป็นพิเศษ เพราะไม่มีชื่อในธรรมเนียบเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศแก่ผู้อื่น) ท่านเป็นพระที่ภาษาชาวบ้านสมันนี้เรียกกันว่า “สมถะ” คือ ชอบอยู่สงบเพียงลำพัง ท่านมีบุคลิกน่าเลื่อมใส สำรวมอินทรีย์ “ การคู้ การเหยียด ซึ่งมือและเท้า การเหลียวดูเป็นไปอย่างสงบสำรวม น่าเลื่อมใสยิ่ง” ดังความคิดของอุปปติสะ เมื่อเห็นท่านเป็นครั้งแรก บุคลิกเช่นนี้เป็น “สื่อ” ที่ชักชูงให้ผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์เข้ามาสัมผัสรสพระธรรมได้เป็นอย่างดี

            พิจารณาอีกมุมหนึ่ง พระอัสสชิเถระเป็นนักสอนศาสนาที่เชี่ยวชาญมิใช่น้อยการประกาศธรรมมิได้หมายความว่าจะต้องพูดเก่ง พูดได้ยืนยาว หากรู้จักพูด รู้จักสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้อุปนิสัยของผู้ฟังด้วยแล้ว แม้แสดงเพียงสังเขปก็สัมฤทธิ์ผล ดังที่ท่านได้แสดงแก่อุปติสสมาณพ

            เพราะเหตุนี้เอง ท่านจึงได้ความเคารพนับถืออย่างสูงสุดจากอุปติสสะ ซึ่งต่อมา พระสารีบุตรเถระ เพราะเมื่อท่านทราบว่าพระอัสสชิเถระพำนักอยู่ ณ ทิศใด พระอัครสาวกจะนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น เพื่อถวายความเคารพ “อาจารย์” ของท่าน

            ไม่ปรากฏว่าพระอัสสชิเถระมีอายุพรรษาเท่าใด ท่านนิพพานไปเงียบๆ โดยไม่มีกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์เล่มใด ในส่วนที่ไม่กล่าวถึงบ่อยนัก แต่ไม่มีใครลืมได้ คือ คุณูปการอันยิ่งใหญ่ที่ท่านทำไว้แก่พระพุทธศาสนา โดยได้เป็นผู้ชักชวนให้อุปติสสะและโกลิตะมาบวช ซึ่งภายหลังทั้งสองท่านได้เป็นพระอัครสาวกและเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

๒. คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

            ๒.๑ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน พระอัสสชิเป็นเถระที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากการแสดงออกเมื่อท่านพบกับอุปติสสมาณพ ( ต่อมาคือพระสารีบุตร) ขณะท่านบิณฑบาตอยู่ในเมืองราชคฤห์ อุปติสสะเห็นท่านแล้วเกิดความเลื่อมใสในบุคลิกอันสงบของท่าน คิดว่าท่านผู้นี้คงได้บรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งแน่ จึงไปถามว่า “ ใบหน้าท่านผ่องใส ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน”

            ทั้งที่พระอัสสชิได้เป็นพระอรหันต์ เข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธองค์ถ่องแท้แล้ว ท่านก็ยังพูดกับอุปติสสะด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนว่า “ อาตมามาสู่พระธรรมวินัยนี้ไม่นานยังเป็นพระนวกะอยู่ ไม่สามารถแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดารได้”

            อุปติสสะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นขอให้ท่านแสดงแต่โดยย่อเถิด พระอัสสชิจึงได้กล่าวคาถาอันแสดงถึงแก่นของพระอริยสัจสี่ประการ (ดังกล่าวข้างต้น) ให้อุปติสสะฟังเป็นเหตุให้อุปติสสะเกิดความเลื่อมใสในพระพุทะศาสนา และได้พาสหายชื่อ โกลิตะ ( ต่อมาคือ พระโมคคัลลานะ) มาบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา

            การแสดงออกของพระอัสสชิครั้งนี้ เป็นเครื่องชี้ว่าท่านเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอย่างยิ่ง ไม่คิดว่าตนเป็นคนเก่ง เป็นผู้รู้เจนจบพระพุทธศาสนา ทั้งๆที่เป็นความจริง คุณธรรมข้อนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรเอาเป็นแบบอย่างอย่างยิ่ง

            ๒.๒ เป็นครูที่ดี ครูทำหน้าที่ ๒ ประการ คือ ถ่ายทอดศิลปวิทยา และเป็นแบบอย่างแห่งความประพฤติ

            พระอัสสชิท่านเป็นครูของพระสารีบุตร ตั้งแต่ครั้งยังเป็นอุปติสสมาณพ ท่านมีความสามารถในการถ่ายทอดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่กว้างขวางลึกซึ้ง โดยการสรุปลงในหลักของเหตุและผลอย่างกระทัดลัดที่สุด ทำให้อุปติสสะได้ดวงตาเห็นธรรม

            ในด้านความประพฤตินั้น ท่านเป็นพระเถระที่มีความสงบสำรวม มีบุคลิกสง่างาม สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร น่าเลื่อมใสยิ่ง จึงดึงดูดให้พระอุปติสสมาณพเกิดความประทับใจทันทีที่พบเห็น ยิ่งเมื่อได้มาเป็นศิษย์ของท่านแล้ว ก็ยิ่งเห็นความบริสุทธิ์ดีงามของครูตนได้อย่างดี ถึงกับหันศีรษะไปยังทิศที่ท่านอัสสชิอยู่ก่อนนอนทุกคืน

               ๒.๓ เป็นผู้มั่นคงในหลักการของะระพุทธศาสนา  ในบรรดาพระปัญจวัคคีย์นอกจากพระอัญญาโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าแล้ว พระอัสสชิได้รับการยกย่องจากประชาชนว่า เป็นพระผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับรูปหนึ่ง ที่มั่นคงในหลักการของพระพุทธศาสนาท่านไม่ชอบเทศนาโดยพิศดาร มักจะกล่าวแสดงโดยสังเขป แต่ได้ใจความครอบครุมหลักพระพุทธศาสนาทั้งหมด ดังนั้นเมื่อสัจจนิครนถ์ ศิษย์เอกของนิครนถ์นาฏบุตร (มหาวีระแห่งศาสนาเชน) ประสงค์จะโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า ได้มา "หยั่งเชิง" ดูว่าสาวกของพระพุทธเจ้าจะรอบรู้ลักธรรมหมดทุกรูปหรือไม่ มีเรื่องอะไรบ้างที่สาวกของพระพุทธเจ้าไม่สามารถอธิบายให้แจ๋มแจ้งได้ พระอัสสชิได้ยกแก่นแห่งอนัตตลักขณสูตร คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แสดงให้สัจจนิครนถ์ฟังโดยสังเขป เป็นการแสดงถึง จุดยืนที่มั่นคง เป็นตัวแทนของการประกาศพระธรรมวินัยที่ถูกต้องโดยอรรถ (เนื้อความ)  และโดยพยัญชนะ เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

bottom of page