top of page

   

       ๒.๒พระกีสาโคตมีเถรี

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  ๑. ประวัติ กีสา เป็นนามที่เรียกขานกัน เพราะเธอมีรูปร่างผอมบาง ส่วนโคตมีเป็นชื่อโคตร นางเป็นธิดาของตระกูลที่เก่าแก่ตระกูลหนึ่งในเมืองสาวัตถี

                  วันหนึ่งขณะที่นางเดินอยู่ที่ตลาดที่มีพ่อค้าแม่ค้าวางของขายแกปนะชาชนที่เดินไปมา นางเหลือบไเห็นพ่อค้าคนหนึ่งนำเอาทองมากองไว้ นั่งเฝ้าดังหนึ่งจะขายให้แก่คนทั่วไปจึงตรงเข้าไปถามว่า "คุณพ่อ คนอื่นเขาขายผ้า ขยน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ทำไมคุณพ่อนำทองมาขาย"

              คำพูดของนางทำให้คนที่นางเรียก คุณพ่อ ตื่นเต้นเป็นการใหญ่ เพราะมีเรื่องราวเบื้องหลังอันประหลาดพิศดาร เรื่องก็คือว่า บุคคลที่กล่าวถึงนี้เป็นเศรษฐีในเมืองสาวัตถี จู่ๆวันหนึ่ง ทองที่มีทั้งหมดได้กลายเป็นถ่าน สร้างความตกใจแก่เศรษฐีเป็นอย่างมาก จนกระทั่งไม่เป็นอันกินอันนอน ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ

                   เพื่อนเศรษฐีที่รู้เรื่องราวก็พากันมาปลอบโยน เพื่อนคนหนึ่งกล่าวว่า "ลองเอาถ่านทั้งหมดไปกองไว้ที่ตลาดนัดที่คนเดินผ่านไปมาดูซิ อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็ได้"

                   " ทำไปทำไม แค่นี้ก็อายคนเขาจะแย่อยู่แล้ว จู่ๆทองกลายเป็นถ่าน" เศรษฐีคัดค้าน

                    " เพื่อทดลองดู ถ้าคนที่ผ่านไปมามองเห็นว่าเป็นถ่าน จะพูดอย่างไรท่านก็ไม่ต้องสนใจ เผื่อมีใครสักคนมองเห็นแล้วพูดว่าทอง ท่านพึงให้คนๆนั้นจับถ่านเหล่านี้แล้ว ถ่านเหล่านี้อาจจะกลายเป็นทองตามเดิมก็ได้"

                    " ท่านคิดว่าจะมีคนอย่างนี้หรือ" เศรษฐียังไม่หายสงสัย

                     " เถอะน่า ไม่ลองไม่รู้"

                     เมื่อเศรษฐีตกยากทำตามที่เพื่อนแนะนำ ก็ได้พานพบหญิงสาวร่างบอบบางนามกีสาโคตมี ทักว่าทำไมเอาเงินทองมากองดังหนึ่งจะขาย ดังกล่าวมาข้างต้น

                      เศรษฐีถามด้วยความตื่นเต้นว่า "ทองที่ไหนแม่หนู"

                      ".อ้าว ก็กองอยู่หน้าคุณพ่อนั่นไง" หญิงสาวตอบ

                      " ไหนแม่หนูลองหยิบให้พ่อดูซิ"  เศรษฐีกล่าวเชิญ

                       หญิงสาวจึงหยิบถ่านขึ้นมาก้อนหนึ่ง มันกลายเป็นทอจริงๆ เศรษฐีจึงขอร้องให้หญิงสาวเอามือสัมผัสกองถ่านทั้งหมด แล้วมันก็คืนสภาพเป็นทองตามเดิม เศรษฐีรู้ว่านางยังไม่แต่งงาน จึงไปสู่ขอนางกับพ่อแม่ของนางเพื่อให้แต่งงานกับบุตรชายของตนและรับนางมาอยู่กินที่ตระกูลสามี

                        อยู่มาไม่นาน นางก็ได้กำเนิดบุตรชายน่ารักคนหนึ่งแก่ตระกูลสามี นำความปราบปลื้มแก่สมาชิกทั้งหมดในตระกูล

                        แต่ความปราบปลื้มยินดีนั้นมีอยู่ได้ไม่นาน บุตรน้อยของนางได้เสียชีวิตกระทันหันนางร่ำไห้เสียใจปิ่มว่าใจจะขาด จนสติพั่นเฟือน ไม่ยอมให้ใครเผาศพลูกชาย คิดเข้าข้างตัวเองว่าลูกชายของตนยังไม่ตาย เพียงสลบไปเท่านั้น แม้ใครเขาจะบอกว่าลูกของนางตายแล้วก็ไม่ฟัง

                         กีสาโคตมีผู้น่าสงสาร วันๆ ไม่ทำอะไร ได้แต่อุ้มศพลูกน้อยเดินไปเดินมา พบใครก็เอ๋ยปากถามว่า " มียาให้ลูกฉันฟื้นไหม ขอยาให้ลูกฉันด้วย"

                         "คนตายแล้วไม่มีทางฟื้นดอกแม่หนูเอ๋ย" ลุงคนหนึ่งกล่าวทำนองให้นางปลงเสียบ้าง

                          "ลุงพูดอะไรให้มงคลหน่อยสิ ลูกฉันยังไม่ตาย เพียงแค่สลบไปเท่านั้น ไม่มียาให้ก็ไม่ต้องมาพูดทำลายน้ำใจกัน" นางตอบด้วยความโมโห

                           "ลุงไม่มียาดอก แต่ลุงรู้จักผู้ที่มียา" ชายวัยกลาคนคนเดิมกล่าว เมื่อนางถามว่าเป็นใคร เขาจึงกล่าวว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน นอกเมืองสาวัตถีนี่เอง พระองค์ต้องรู้จักยารักษาลูกของแม่หนูแน่นอน

                   

              คงป็นความกรุณาของชายวัยกลางคนท่านนี้ เพราะเหตุว่านางกีสาโคตมีกำลังจะบ้าไร้สติเพราะความรักลูก จนไม่ยอมรับความจริงของชีวิตว่ามีเกิดมีตาย ทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยบรรเทาความเศร้าโศกของนางได้ คือแนะนำให้ไปฟังธรรมของพระพุทธองค์

            กีสาโคตรมีดีใจปานประดุจได้แก้ว อุ้มศพลูกน้อยรีบเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่เชตะวัน พลางกราบทูลถามว่า “ ข่าวว่าพระพุทธองค์มียารักษาลูกชายของหม่อมฉันจริงหรือ”

            “เป็นความจริง” พระพุทธองค์ตรัสอย่างสงบ

            “ขอพระพุทธองค์ประทานยาให้ลูกชายของหม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า”

            “ เธอไปเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาสักกำมือหนึ่ง เราตถาคตจะทำยาให้” พระพุทธองค์ตรัสบอก เมื่อเห็นนางรีบไปจึงตรัสกำชับว่า “เมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นจะต้องเอาจากบ้านเรือนที่ไม่มีใครตายเลยนะถึงจะทำยาได้”

            กีสาโคตรมีอุ้มลูกน้อยไปเที่ยวขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากชาวบ้านทุกครัวเรือนไม่ได้แม้แต่เมล็ดเดียว ถามว่าทั้งหมู่บ้านนี้ไม่มีครอบครัวไหนมีเมล็ดพันธุ์ผักกาดหรือ หามิได้เขามีกันแทบทุกครัวเรือน แต่บ้านที่ไม่มีใครตายเลยนั้นไม่มี ล้วนแต่เคยมีคนตายมาแล้วทั้งนั้น บ้านนี้ก็พ่อแม่ตาย บ้านนั้นก็ปู่ย่าตาย บ้านโน้นก็พี่ป้าน้าอาตาย

            นางเดินจนเข่าอ่อน ก็ยังไม่ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแม้แต่เมล็ดเดียว ฉับพลันทันใดนั้นนางก็ “ได้คิด” และ “คิดได้”  ว่า ความตายเป็นสัจจะแห่งชีวิต สิ่งใดมีกรเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็มีการแตกดับไปในที่สุด

            เมื่อคิดได้ดั้งนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาก็โพลงขึ้นกลางใจ ความเศร้าโศกที่แบกรับมาจนหนักอึ้งก็ผ่อนคลายเบาบางจิตใจสดชื่น โปร่งโล่งสบาย ดังหนึ่งวางภาระนักลงแล้ว นางจัดการเผาศพลกชายตัวเองแล้วเดินเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์

            เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถามว่า “ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดหรือเป่า” ก็กราบทูลว่า “ไม่ได้พระเจ้าข้า เพราะแต่ละครอบครัวเรือนล้วนมีคนตายแล้วทั้งนั้น บัดนี้หม่อมฉันนึกได้แล้วพระเจ้าข้า ทุกคนที่เกิดมาล้วนต้องตาย หม่อมฉันปลงได้แล้ว ไม่เศร้าโศกเสียใจแล้ว”

            พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดีละ ก่อนนี้เธอเข้าใจว่าลูกชายของเธอเท่านั้นตาย บัดนี้เธอรู้แล้วใช่ไหมว่าคนที่เกิดมาต้องตายทุกคน มัจจุราชไม่ละเว้นใครๆ มันฉุดคร่าเหล่าสัตว์ไปสู่ความตายทั้งนั้น” แล้วตรัสโศลกธรรมสั้นๆว่า

            “มฤตยูย่อมพาชีวิตของคนที่ยึดติดมัวเมาในบุตรและในทรัพย์สินไป ดุจเดียวกับกระแสน้ำหลากมาพัดพาเอาชีวิตของประชาชนผู้นอนหลับใหลไป ฉะนั้นแล”

            สิ้นสุดพระธรรมเทศนา กีสาโคตรมีก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล กราบทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณี พระองค์ทรงส่งเธอไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์ เมื่อบวชแล้วได้นามตามเดิมว่า

พระกีสาโคตรมีเถรี

            วันหนึ่ง ขณะพระกีสาโคตรมีเถรีตามประทีป (ถือตะเกียง) ให้สว่างในวิหาร เห็นเปลวประทีปลุกแล้วก็หรี่ลง ลุกแล้วก็หรี่ลง เช่นนี้ตลอด จึงได้กำหนดเอาแสงประทีปเป็น “อารมณ์กรรมฐาน” (คือถือเอาเป็นเครื่องกำหนดจิตให้เกิดสมาธิ) แล้วเกิดความรู้ขึ้นว่า ชีวิตสัตว์ทั้งหลายดุจเดียวกับแสงประทีป เกิดขึ้นแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิดขึ้นใหม่ เวียนว่ายอยู่ในวงจรแห่งการเกิดดับ อยู่ไม่รู้นานเท่าไร จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานนั้นแหละ จึงจะหยุดวงจรแห่งการเกิดดับนี้ได้

            ฉับพลันแสงสว่างเรืองรองก็ฉายวาบมายังเธอ ปรากฏประหนึ่งว่าพระพุทธองค์เสด็จมาประทับต่อหน้านาง พระสุรเสียงกังวานวาวมาว่า

            “ถูกแล้ว กีสาโคตรมี ผู้ใดเห็นแจ้งในพระนิพพาน แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ยังประเสริฐกว่าผู้มีอายุตั้งร้อยปีแต่ไม่เห็นแจ้ง”

            สิ้นสุดพระพุทธภาษิต พระกีสาโคตรมีเถรีก็ได้บรรลุพระอรหันตผลพร้อมปฏิสัมภิทา

            พระกีสาโคตรมีเถรีได้ผ่านประสบการณ์ชีวิตอันข่มขืนมาแล้ว รู้รสชาติแห่งความทุกข์จากการสูญเสียลูกดีว่ามันสาหัสเพียงใด เมื่อมาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสุขที่แท้จริงแล้ว ก็มีความสงสารเห็นใจผู้ยังอยู่ห้วงความทุกข์นั้น จึงมักเทศน์สอนผู้คนผู้กำลังทุกข์ให้หาทางแก้ทุกข์ในทางที่ถูกต้อง วิธีเอาชนะทุกข์ได้เด็ดขาด คือ หันหน้ามาเผซิญกับมัน รับรู้ความจริงว่ามันเป็นทุกข์เพราะเหตุใด แล้วพยายามแก้ที่ต้นเหตุ ด้วยวิธีเท่านั้นจึงจะแก้ได้

            พระกีสาโคตรมีเถรีได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าเป็น “เอตทัคคะ”  (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทางทรงจีวรเศร้าหมอง เป็นผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด มีความเป็นอยู่เรียบง่ายอย่างยิ่ง เป็นสตรีที่มีบทบาทในความจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งท่านหนึ่ง

 

2. คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

            2.1 เป็นผู้มีความเคารพนอบน้อมยิ่ง

                        จากประวัตินางกีสาโคตรมีสมัยยังเป็นฆราวาส นางเป็นคนที่มีความเคารพนอบน้อมต่อสามี ต่อบิดามารดาของสามีอย่างยิ่งตลอดถึงต่อคนทั้งปวง เมื่อทรัพย์สินของตระกูลสามีของเธอได้ถึงกาลวิบัติ คือกลายเป็นถ่านไปหมดสิ้น ได้อาศัยบุญของนางจึงกลับกลายเป็นทองคำ นางเองน่าจะถือตัวว่าเป็นคนสำคัญที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลในตระกูล แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ นางกลับปฏิบัติตนเป็นสะใภ้ที่ดี เป็นภรรยาที่ดีของสามืมีความเคารพอ่อนน้อมต่อสามีและบิดามารดาของสามี

                        คุณสมบัติคือความอ่อนน้อมถ่อมตนนี้ติดตัวนางมาตลอด แม้มาบวชเป็นภิกษุณีแล้ว นางก็ให้ความเคารพภิกษุ และภิกษุอื่นๆ อย่างยิ่ง ถือตัวว่าเป็นเพียงผู้ศึกษาคนหนึ่งเท่านั้น ยินดีรับโอวาทและคำตักเตือนของเพื่อนสหธรรมิกเสมอ เพราะคุณสมบัติข้อนี้เช่นเดียวกันที่บรรดาลให้นางได้มาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าในที่สุด เพราะถ้านางดื้อรั้นไม่เชื่อฟังคำแนะนำของอุบาสกผู้หวังดีให้มาทูลขอยาจากพระพุทธเจ้า ก็คงไม่มีโอกาศเข้ามาสู่ร่มเงาของพระพุทธศาสนา

            2.2 เป็นผู้มีความคิดฉับไว

                        คนส่วนมากเมื่อจมอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ คือมัวเมาลุ่มหลงในความผิดบางอย่าง ยากนักที่จะไดคิดและถอนตัวได้โดยง่าย แต่พระกีสาโคตรมีเถรีนี้กลับเป็นข้อยกเว้น ในขณะที่เดินสองถามหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนนี้ไปเรือนโน้นอยู่นั้นเมื่อได้ยินว่าทุกครัวเรือนต่างก็มีคนตายทั้งนั้น นางก็พลันได้คิด ในเวลาไม่ช้านักว่า ชีวิตนี้ไม่เที่ยงแท้ ทุกคนจะต้องตาย ไม่ได้ตายเฉพาะบุตรของนาง การได้คิด หรือคิดได้ก่อนที่จะสายเกินไปนี้นำนางออกจากความมืดสู่แสงสว่างของพระธรรมได้ในที่สุด ซึ่งคนทั่วไปอาจถือเอาเป็นแบบอย่างได้ คือ เมื่อประสบความทุกข์ยาก หรือปัญหาหนักๆทุกอย่าง ให้ตั้งสติพยายามคิดหาทางออกในอีกมุมหนึ่ง ไม่พึงจมอยู่กับความทุกข์หรือปัญหานั้นอย่างเดียว แล้วจะพบทางสว่างในที่สุด หัดคิดหัดทำบ่อยๆ ความคิดจะฉับไวขึ้น เข้าใจอะไรเร็วขึ้น

            2.3 เป็นครูที่ดีของสตรีทั้งหลาย

                        ประสบการณ์ชีวิตของนางกลับกลายเป็นประโยชน์ คือ เป็นประสบการณ์ตรง ที่นางนำมาประยุกต์ใช้ในการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาให้สตรีทั้งหลายผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์คล้ายกับนาง จึงปรากฏว่าสตรีทั้งหลายมักจะไปหาพระกีสาโคตรมีเถรีเพื่อฟังธรรม ดุจเดียวกับพระปฏาจาราเถรี เป็นที่ปรึกษาของสตรีทั้งหลายฉันนั้น

            2.4  เป็นผู้มีชีวิตเรียบง่าย

                        สมัยเป็นฆราวาส นางเป็นสะใภ้ของตระกูลร่ำรวยเมื่อมาบวชแล้วกลับเป็นอยู่อย่างง่ายๆ สันโดษด้วยปัจจัยสี่ ถือครองจีวรเศร้าหมอง จนได้รับยกย่องในเอตทัคคะ ในด้านการทรงจีวรเศร้าหมอง

            คุณสมบัติข้อนี้เป็นแบบอย่างของคนในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี คือ เป็นเครื่องเตือนสติว่า ให้ทำตนเป็นคนกินเพื่ออยู่ มิใช่อยู่เพื่อกิน หรืออยู่กนแต่พอดี มิใช่กินอย่างดีอันเป็นส่วนเกินแห่งชีวิต พูดอีกนัยหนึ่งคือให้คิดเสมอว่า พึงกินน้อยใช้น้อยแต่ทำประโยชน์แก่วสังคมให้มากที่สุด

bottom of page