top of page

          

                   3.1 พนะนาคเสน-พระยามิลินท์

                       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                       

 

 

 

 

 

 

                         1. ประวัติ

                                    พระนาคเสนเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าในยุคหลัง ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 6 (ประมาณ พ.ศ. 500 เศษ) ท่านเป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อ “โสณุตตระ” โดยอาศัยอยู่ที่หมู่บ้าน เชิงเขาหิมาลัย พระนาคเสนเป็นผู้ใฝ่ศึกษาอยู่ตลอดเวลาจนทำให้ท่านเรียนจบไตรเพทตั้งแต่อายุยังน้อย สาเหตุที่ท่านออกบวชในพระพุทธศาสนาก็เพราะเสื่อมใสในพระโรหณเถระ และต้องการเรียน “ศิลปะที่สูงสุด”

                                    พระเถระรูปหนึ่งชื่อ “โรหณเถระ” ได้ไปบิณฑบาตที่บ้านของโสณุตตระพราหมณ์เป็นเวลา 7 ปี 10 เดือน ไม่ได้รับการยกมือไหว้ การกราบไหว้ และสามีจิกรรม อย่างอื่น ได้แต่คำพูดที่ไม่ไพเราะและถูกตะเพิดไล่จากคนในบ้าน วันหนึ่งขณะที่พราหมณ์โสณุตตระไปทำธุระนอกบ้าน ได้เดินสวนทางกับพระโรหณเถระ จึงถามว่า สมณะ วันนี้ท่านได้อะไรบ้างไหม พระเถรจึงตอบว่า “วันนี้อาตมาได้” เมื่อพราหมณ์ได้ยินดังนั้น  จึงได้กลับไปบ้านต่อว่านางพราหมณีผู้เป็นภรรยาด้วยความโกรธที่ให้อาหารแก่สมณะ นางพราหมณีปฎิเสธว่า นางมิได้ให้ข้าวแม้แต่ทัพพีเดียวแก่สมณะนั้น วันรุ่งขึ้นพราหมณ์โสณุตตระได้ไปนั่งคอยเพื่อต่อว่าพระเถระว่าพูดโกหกเพราะไม่มีใครให้อะไร แต่สมณะบอกว่าได้ของจากบ้านนี้ พระเถระกล่าวว่า “พราหมณ์ อาตมามาบิณฑบาตที่บ้านของท่านเป็นเวลา 7 ปีกว่า ไม่เคยได้แม้กระทั่งการไหว้ การกราบ ละสามีจิกรรมอย่างอื่น ได้แต่คำพูดที่ไม่ไพเราะ แต่เมื่อวานนี้ภรรยาของท่านกล่าวกับอาตมาด้วยถ้อยคำไพเราะว่า นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิดเจ้าข้า อาตมาหมายเอาคำพูดนี้ จึงบอกท่านว่าอาตมาได้” พราหมณืได้ยินคำนี้จึงเกิดความเลื่อมใสว่า พระสมณะศากยบุตรนี้ช่างดีแท้เพียงได้ฟังคำพูดอันไพเราะแค่นี้ก็ให้ความสำคัญ จึงได้นิมนต์ท่านขึ้นไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน และนิมนต์ท่านไปรับภัตตาหารเป็นประจำ สองสามีภรรยาเมื่อได้เห็นพระเถระเคลื่อนไหวอริยบถด้วยความสงบสำรวมก็ยิ่งเพิ่มความเลื่อมใสเป็นทวีคูณ

                        วันหนึ่งท่านทราบว่า “นาคเสนกุมาร” มีความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียนพระเวทและศิลปะวิทยาการทั้งหลายว่าหาแก่นสารมิได้ จึงเข้าไปสนทนาด้วย นาคเสนกุมารถามท่านว่าท่านรู้ศิลปะหรือไม่ พระเถระว่ารู้ และรู้ “ศิลปะที่สูงสุด” นาคเสนกุมารจึงขอเรียนศิลปะที่สูงสุดด้วย พระเถระกล่าวว่าท่านจะสอนให้เฉพาะผู้ที่ถือเพศบรรพชิตเหมือนท่านเท่านั้น นาคเสนกุมารจึงขออนุญาตบิดามารดาบวชเป็นศิษย์ของพระเถระ เมือนาคเสนกุมารบวชเป็นสามเณรแล้ว พระโรหณะผู้เป็นอุปัชฌาย์เห็นว่าสามเณรนาคเสนเป็นผู้มีปัญญาอันเฉียบแหลมสมควรจะให้ศึกษาปรมัติถกรรมที่ลึกซึ้งก่อน จึงให้เรียนพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ สามเณรนาคเสนได้ฟังพระโรหณะสาธยายอภิธรรมเพียงครั้งเดียวก็สามารถจดจำได้หมด

                        ต่อมาเมื่อสามเณรนาคเสนมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทป็นพระภิกษุโดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌาย์ วันรุ่งขึ้นเมื่อพระนาคเสนเดินตามหลังพระอุปัชฌาย์ออกบิณฑบาต ก็คิดในใจว่าพระอุปัชฌาย์ของเราเป็นคนโง่เขลา รู้แต่พระอภิธรรมอย่างเดียว ไม่รู้พระพุทธวาจนะอื่นเลย จึงให้เราเรียนอภิธรรมก่อน พระโรหณะรู้ความคิดของพระนาคเสน จึงบอกว่าความคิดของพระนาคเสนเช่นนั้นไม่สมควรทั้งแต่ตัวท่านและพระนาคเสน พระนาคเสนนึกอัศจรรย์ใจว่าพระอุปัชฌาย์รู้ความคิดในใจของตนได้อย่างไร จึงคิดว่าพระอุปัชฌาย์มีปัญญาควรจะขอขมาใหท่านงดโทษตน จึงกล่าวขอขมาโทษกับพระอุปัชฌาย์ พระโรหณะจึงบอกว่าแค่ขอขมาเท่านั้นไม่พอ ถ้าพระนาคเสนทำให้พระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งเมืองสาคลนครเลื่อมใสได้เมื่อใดท่านจึงจะงดโทษได้เมื่อนั้น แล้วพระโรหณะที่ส่งพระนาคเสนไปจำพรรษากับพระอัสสคุตเถระที่วัตตนิยเสนาสนะวิหารวันหนึ่งพระนาคเสนได้ติดตามพระเถระไปฉันอาหารที่บ้านอุบาสิกาคนหนึ่ง หลังจากฉันเสร็จ พระเถระได้ให้พระนาคเสนกล่าวอนุโมทนากถา ในขณะที่กล่าวอนุโมทนากถาอยู่นั่น อุบาสิกาฟังไปด้วยพิจารณาตามไปด้วยจนได้บรรลุโสดาบัน และตัวพระนาคเสนก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วย หลังจากนั้นพระนาคเสนถูกส่งไปเรียนพุทธวัจจนะกับพระธรรมรักขิตที่อโศการามนั้น มีพระเถระจากเกาะสิงหล ประเทศศรีลังกา รูปหนึ่งนามว่า “ติสสทัตตะ” ในตอนแรกพระนาคเสนถือตัวว่าเกิดในตระกูลพราหมณ์จึงไม่ประสงค์จะเรียนร่วมกับ “มิลักขะ” จึงถูกพระธรรมลักขิตตักเตือน พระนาคเสนจึงได้ขอขมาพระติสสทัตตะ และในที่สุดทั้งสองท่านก็เรียนพุทธวัจจนะจากพระธรรมรักขิตร่วมกัน จนเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฏกในเวลาอันสั้น

                        พระธรรมรักขิตเถระเห็นว่าพระนาคเสนแม้จะมีสติปัญญาดี มีความเชี่ยวชาญพระพุทธพจน์เป็นเลิศก็จริง แต่ยังคงเป็นปุถุชนผู้มีกิเลศหนาอยู่ จึกล่าวอุปมาให้พระนาคเสนฟังว่า “ธรรมดาคนเลี้ยงโค” ได้แต่รับจ้างเลี้ยงโคและรีดนมโคขาย มิได้ลิ่มรสนมโคฉันใด  บุคคลที่เป็นปุถุชน แม้จะเชี่ยวชาญพระไตรปิฎก แต่มิได้ลิ่มรสแห่งมรรคผลอันสมควรแก่สมณะก็ฉันนั้น” พระนาคเสนได้ฟังเช่นนั้นก็เข้าใจ จึงตั้ใจเจริญสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จพระอรหันต์พร้อมทั้งปฎิสัมภิทาญาณ ในช่วงเวลานั้น มีกษัตริย์เชื้อสายกรีกพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า “เมนันเดอร์” หรือที่ภาษาบาลีเรียกว่า “พระยามิลินท์” ได้อวดอ้างว่าเป็นผุ้รู้ศาสนาและปรัชญามากกว่าใครและท้าโต้วาทะกับสมณะพราหม์และประชาชนทั่วไป เมื่อไม่มีใครมาโต้ด้วย ก็คิดว่าโลกนี้มีแต่คนโง่ พระสงฆ์ทั้งหลายเห็นว่าพระยามิลินท์กำลังมิจฉาทิฐิอย่างมาก จึงได้ขอร้องให้พระนาคเสนไปแก้ความเห็นผิดของพระยามิลินท์ พระนาคเสนจึงได้ไปโต้วาทะและแสดงหลักแห่งพระพุทะศาสนาให้พระยามิลินท์เข้าใจ และสละความเห็นผิดยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด

 

2) คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

            2.1 เป็นผู้ใฝ่รู้อย่างยิ่ง

                        คุณธรรมข้อนี้เรียกว่า “ธัมมกามตา” คือ มีฉันทะใคร่รู้ใคร่ศึกษา ด้วยความใฝ่รู้นี้เองทำให้พระนาคเสนเรียนจบไตรเพทตั้งแต่อายุยังน้อย และเมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาอภิธรรมในสำนักพระอัสสคุต จนเชี่ยวชาญในพระอภิธรรม ทั้งยังศึกษาพุทธวัจจะ (พระไตรปิฎก) ในสำนักของพระธรรมรักขิต โดยใช้เวลาไม่นานก็เรียนจบพระไตรปิฎกซึ่งความสำเร็จทั้งหมดนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเป็นผูใฝ่รู้นั้นเอง

            2.2 ยอมรับผิดและแก้ไขตนเอง

                        เป็นธรรมดาของผู้ที่มีความรู้มากหรือเป็นพหูสูต มักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง จนบางครั้งเลยขอบเขตกลายเป็นทิฐิมานะ ดูหมิ่นดูแคลนคนอื่น ซึ่งพระนาคเสนก็เป็นเช่นนั้นในบางครั้ง แต่เมื่อรู้สึกตัวว่าผิด ก็พร้อมที่จะรับผิดและพยายามแก้ไข ซึ่งคุณธรรมข้อนี้ควรที่จะเอาเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง

            2.3 เป็นผู้มีปฎิภาณอย่างยอดเยี่ยม

                        พระนาคเสนเด่นมากในข้อนี้ เพราะมิลินทปัญหา เป็นบันทึกปฏิภาณอันเฉียบคมของท่านไว้มากมาย ดังเมื่อพระยามิลินท์ถามว่า “พระพุทธเจ้ามีองค์จริงหรือไม่” พระนาคเสนตอบว่า “มี” เมื่อถูกซักว่า “ท่านเกิดไม่ทันไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า ท่านรู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้ามีจริง” พระนาคเสนใช้ปฎิภาณตอบว่า “มหาบพิตร ท่านคงไม่ปฎิเสธใช่ไหมว่ากษัตริย์ต้นวงศ์ของโยมมีจริงๆ” พระนาคเสนคิดว่า “ มหาบพิตรเกิดไม่ทัน ไม่เคยเห็น มหาบพิตรรู้ได้อย่างไรว่ากัตริย์ต้นวงศ์ของพระองค์มีจริง”

            2.4 เป็นนักสอนธรรมที่มีเทคนิคการสอนดีเยี่ยม

                        นอกจากใช้ปฏิภาณโต้ตอบแล้ว พระนาคเสนยังมีวิธีการสอนที่ดีเยี่ยมอีกประการหนึ่ง คือ ใช้การเปรียบเทียบ เพราะแม้เรื่องที่พูดที่สอนนั้นจะละเอียดลึกซึ้ง เช่น นิพพาน การเกิด การตาย แต่ท่านก็สามารถอธิบายให้คนฟังเข้าใจได้ โดยยกอุปมาอุปมัยมาเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรม เช่น กรณีนาย ก ทำบาปกรรมไว้ในชาติก่อน เมื่อนาย ข ตายไปแล้วมาเกิดเป็นนาย ข  นาย ข ก็ได้รับผลกรรมที่นาย ก ทำไว้ ซึ่งตามสายตาของคนทั่วไปไม่น่าจะถูกต้อง เพราะนาย ข ไม่น่าจะต้องมารับผิดชอบต่อการกระทำที่ตนมิได้กระทำ  แต่พระนาคเสนได้อธิบายเปรียบเทียบว่า มีคนๆหนึ่งขโมยมะม่วงไปผลหนึ่ง เมื่อถูกเจ้าของจับได้เขาก็เถียงว่า เขามิได้ขโมยมะม่วงของเจ้าของสวน เพราะผลมะม่วงที่เขาเอาไปเป็นคนละผลกับผล (เมล็ด)  ที่เจ้าของสวนมะม่วงปลูกไว้ คำแก้ตัวนี้ย่อมฟังไม่ขึ้นฉันใด ในเรื่องนาย ก กับนาย ข ก็ฉันนั้น

bottom of page