top of page

3.2 สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            1.ประวัติ

                        สมเด็จพระวันรัตมีนามเดิมว่า เฮง หรือกิมเฮง นามฉายาว่า เขมจารี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 3 ขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1243 ณ จังหวัดอุทัยธานี ในครอบครัวชาวจีน เมื่อท่านอายุได้ 8 ปี ป้าของท่านได้พาท่านไปฝากเรียนหนังสือในสำนักพระอาจารย์ซังวัดขวิด จนมีความรู้หนังสือไทยเขียนได้อ่านออก ครั้นอายุได้ 11 ปี ยายและป้าได้พาฝากในสำนักปลัดใจ ได้ศึกษาภาษาบาลี อ่านเขียนข้อความ อ่านหนังสือพระมาลัยตามธรรมเนียมการศึกษาสมัยโบราณืได้เรียนวิชาทางธรรมต่างๆ ตลอดจนวิชาคำนวณด้วยครั้นอายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรแต่ต้องสึกออกมาเพื่อไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน

            เมื่ออายุย่างเข้า 11 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้ง ศึกษาภาษาบาลีและพระธรรมบทมากมาย จนอายุ 17 ปี จึงลงมาอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ กรุงเทพมหานคร และได้เข้าสอบปริยัติธรรมสนามหลวงจนได้เปรียญ 5 แต่ครั้งยังเป็นสามเณร ต่อมาเมื่ออายุย่างเข้า 22 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ทิต) เป็นพระอุปัชณาย์ ท่านสอบบาลีได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อมีอายุได้ 24 ปี สมเด็จพระวันรัตเป็นผู้แตกฉานในปริยัติรรมจากท่านกันมาก จึงนับได้ว่าท่านเป็นผู้พัฒนาวัดวัดมหาธาตุ ที่เสื่อมโทรมให้เจริญขึ้นได้ มีการปฎิสังขรณ์ปูชนียสถานและศิลปวัตถุต่างๆในวัด ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงบางกอกน้อย เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ เจ้าคณะแขวงล่างพระนคร เป็นปลัดคณะขวงในพระนคร และเป็นประธานสังฆสภาองค์แรก เมื่อท่านได้รับตำแหน่หน้าที่ใดๆก็จัดการปกครองคณะสงฆ์ในหน้าที่นั้นๆ เจริญมาโดยลำดับ เจริญทั้งการศึกษา การบริหาร การปฏิสังขรณ์ เพราะท่านเอาใจใส่ทำนุบำรุงตรวจตราอยู่เสมอ จัดได้ว่าท่านได้ปกครองคณะสงฆ์ในหน้าที่ได้ผลดี เป็นประโยชน์แก่พระศาสนาและประเทศชาติบ้านเมือมิใช่น้อย ท่านอาพาธด้วยโรคหลอดอักเสบเรื้อรังกับขั้วปอดโตขึ้น มีอาการไอกำเริบและมรณภาพเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม  พ.ศ. 2486 ณ วัดมหาธาตุ รวมอายุได้ 63 ปี มีพรรษาได้ 42 พรรษา

2) คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

            2.1 เป็นผู้เคารพต่อพระรัตนตรัย

                        ท่านเป็นพระเถระทีเคร่งครัดในการทำวัตรไหว้พระสวดมนต์ทุกค่ำเช้า เพราะท่านถือว่าการทำวัตรเช้าค่ำนั้นเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย โดยท่านได้ปรารถว่า “ การลงทำวัตรเช้าค่ำทุกวันนี้ก็เทียบได้กับการไปสู่ที่บำรุงของพระบรมศาสดา”

            2.2 เป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที

                        เป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของท่าน เช่น การที่ท่านเคารพอุปัชฌาย์ของท่านมาก ไม่เคยปรากฏอาการที่แสดงความไม่เคารพแม้สักขณะหนึ่ง ท่านจะลงสรงนน้ำในโอกาสขึ้นปีใหม่แด่พระอุปัชฌาย์ของท่านไม่เคยขาดตลอดเวลาที่ท่านยังมีชีวิต

                        ส่วนการปฎิบัติต่อบิดามารดา ท่านก็เชื่อฟังปฎิบัติตามคำสอนของบิดามารดาในทุกวันตรุษจีนท่านจะจัดการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยดัดแปลงให้สอดคล้องตามหลักพระพุทธศาสนา ส่วนที่ไม่เหมาะที่พระจะทำก็เรียกให้ญาติเป็นผู้กระทำแทน

            2.3 การบำเพ็ญสาราณียธรรม

                        ท่านจะแบ่งปันลาภ ที่ได้รับมาให้กับพระสงฆ์หรือสามเณรอย่าเป็นธรรม ส่วนตัวท่านก็ใช้สอยสิ่งของสักการะจากผู้ศรัทธาอย่างประหยัด

            2.4 เป็นนักปกครองที่ดีเยี่ยม

                        การจัดการปกครองของท่านได้รับการไว้วางใจจากพระเถระให้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยๆ สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่พระพุทธศาสนามาโดยลำดับ ส่วนการบริหารการศึกษา ท่านสามารถทำนุบำรุงและจัดการศึกษาของสถานศึกษาฝ่ายมหานิกายให้เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ว่า วัดมหาธาตุฯ เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่ใช้ศึกษาเล่าเรียนคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และเปิดการเล่าเรียนมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน รัตนโกศก 108 สืบมา 

bottom of page