top of page

 

3.3 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          

                  1. ประวัติ

                        อาจารย์มั่น มีนามเดิมว่า มั่น ยา ภูริทตโต เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413  ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ คำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ มีพี่น้อง 9 คน ท่านเป็นบุตรคนโต

                        พระอาจารย์มั่นเป็นผู้ที่แข็งแรงว่องไว และมีสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิด ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือกับอา โดยเรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม จนอ่านออกเขียนได้ ทั้งนี้ท่านสามารถเรียนได้รวดเร็วมาก เพราะมีความจำดีและมีความขยันหมั่นเพียร รักการศึกษา

                        ในขระที่ยังเป็นเด็กอยู่นั่น ท่านได้พบกับพระอาจารย์เสาร์ ละถวายตัวเป็นศิษย์ และฝึกหัดกัมฐานกับท่านพระอาจารย์เสาร์ ต่อมาเมื่ออายุได้ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่สำนักวัดบ้านคำบง อยู่เป็นสามเณรได้ 2 พรรษา จึงลาสิกขาเพื่อไปช่วยงานทางบ้าน ต่อมาเมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านจึงได้เข้าอุปสมบทที่วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระอริยกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยดั้บายาว่า “ภูริตโต” เมื่อได้อุปสมบทแล้วได้กลับสำนักไปศึกษาวิปัสสนาธุระกับท่านอาจารย์เสาร์ ณ วัดเลียบ จังหวัดุบลราชธานี สำหรับวัดปฎิบัติของท่านมีดังนี้

            1. ผ้าที่ใช้ทำสบง จีวร สังฆาฎิ คือผ้าที่นำมาจากการบังสุกุลเท่านั้น

            2. ออกบิณฑบาตทุกวัน ยกเว้นวันที่ไม่ฉัน

            3. ฉันอาหารเฉพาะในบาตร ใครนำมาถวายทีหลังท่านไม่รับ

            4. ฉันอาหารมื้อเดียว

            5. มีภาชนะสำหรับฉันที่ไว้สำหรับใส่อาหาร คือบาตรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

            6. อาศัยต้นไม้ในป่า หุบเขา หน้าผา เป็นที่ปฎิบัติธรรม

            7. เครื่องนุ่งห่มที่ใช้มีเพียงผ้าไตรจีวร 3 ผืนเท่านั้น

 

            นอกจากกวาดลานวัด ตักน้ำใช้ น้ำฉัน อาบชำระกายให้สะอาดแล้ว ท่านยังปฏิบัติเจริญภาวนาตั้งแต่เย็นจนพลบค่ำ แล้วจึงเทศนาสั่งสอนอบรมสติปัญญาให้กับสานุศิษย์เป็นระยะเวลาพอสมควร ท่านจะเข้าห้องเพื่อสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ แล้วพักผ่อนตั้งแต่ 5 ทุ่ม แล้วตื่นตอนที่ 3 เพื่อทำกิจในวันต่อไป ท่านมีคติเตือนตนเองหรือศิษยานุศิษย์ว่า

            “ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าเลิศ”

            “ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตนเองเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง”

            “เมื่อมีวัตรก็ชื่อว่ามีศีล เพราะศีลเป็นเบื้องต้นของวิชาปฏิบัติ”

            “ต้นดี ปลายก็ดี ครั้นผิดมาแต่ต้น ปลายก็ไม่ดี”

            นอกจากนั้น มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ทำการรวบรวมคำกลอนอบรมและเตือนสติญาติโยมไว้ในหนังสือ บูรพาจารย์ความว่า

            “สาละแวก ปลาแดกใส่ตุ้ม

            ปลาเก่ากะบ่ได้ ปลาใหม่กะบ่ได้

            เอาบุญหยังฮึ  พ่ออกม่ออก มื้อวานนี้”

            มีความหมาย คือ การที่ญาติโยมตั้งขบวนหามขบวนแห่พระอย่างนั้น เป็นการอันไม่สมควร ไม่ถูกต้อง ไม่เคารพสถานที่และครูอาจารย์ เป็นความผิดแผกแหวกแนวประเพณีของนักปฏิบัติ ผิดทั้งฝ่ายโยมและฝ่ายพระ พระผู้ถูกห้ามไม่ป่วย ไม่ชราอาพาธ ก็ผิดพระวินัยพระก็เป็นโทษ เป็นอาบัติ เป็นบาปเป็นกรรม

                พระอาจารย์มั่น ภูริทตโต มรณภาพเมื่อวันที่ 11พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

 

2) คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

      

            2.1 ปฏิบัติตนตามสมณวิสัย กล่าวคือ  ไม่ว่าท่านจะจาริกไปที่แห่งใดก็ตาม ท่านก็จะอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศลาวเพื่อให้ประชาชนเป็นคนดีมีศีลธรรม อันเป็นลักษณะพึงปฏิบัติของพระสงฆ์

            2.2 เอาใจใส่การศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

                        ท่านเป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ใส่ใจการศึกษามาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเข้าศึกษาอักษรธรรม อักษรขอมแต่ยังเด็ก และสามารถเรียนรู้จดจำได้เร็ว นอกจากนี้ท่านยังใส่ใจศึกษาพระธรรมวินัยแล้วนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

            2.3 มีความเพียรในการสั่งสอน

                        ท่านใช้ความพยายามหมั่นเพียรพล่ำสอนศิษย์ให้ฉลาดด้วยการฝึกอบรมจิตใจตามหลักสมถวิปัสสนา ให้ศิษย์เป้นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว อดทนไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม มั่นคงในพระธรรมวินัย โดยท่านได้ทำตนให้เป็นทิฎฐานุคติแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งปวง

 

bottom of page