top of page

3.4 สุชีพ ปุญญานุภาพ

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2460 ณ ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ท่านมีพี่น้องร่วมท้อง 12 คน โดยท่านเป็นคนที่ 11 แต่เหลือรอดอยู่เพียงคนเดียวคือตัวท่าน นอกนั้นถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย ท่านจึงได้รับการตั้งชื่อว่า “บุญรอด” นามสกุลเดิมของท่านคือ สงวนเชื้อ สุชีพ ปุญญานุภาพนี้ได้เปลี่ยนมาใช้หลังจากที่ท่านได้ลาสิกขาจากสมณเพศแล้ว โดยดัดแปลงมาจากฉายาตอนเป็นพระภิกษุว่า “สุชีโว” มาเป็น “สุชีพ”

            อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ท่านจึงประสบความสำเร็จในการศึกษาทางธรรม และมีความรู้กว้างขวางทั้งในภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และโดยเพาะอย่างยิ่ง ความรู้ความสามารถในทางศาสนาเป็นที่ยอมรับนับถือจนถึงปัจจุบัน

            การศึกษาของท่านอาจจำแนกได้ 2 ด้านดังนี้

1. การศึกษาด้านภาษา ในช่วงที่ท่านอุปสมบทตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป เป็นเวลา 15 ปี ท่านได้ใช้เวลาที่ว่างจากศาสนกิจศึกษาภาษาสันสกฤตจากสวามีสัตยานันทบุรี นักปราชญ์ชาวอินเดียจนเชี่ยวชาญ ทำให้ท่านมีความรอบรู้และสามารถแสดงธรรมเป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศได้เป็นท่านแรก

2. การศึกษาด้านพระพุทธศาสนา ท่านสำเร็จเปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อ พ.ศ.2482 ณ สำนักเรียนวัดเทพสิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุได้เพียง 2 พรรษา

            ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุระหว่าง พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2499 ปี ได้รับมรณศักดิ์สูงสุดเป็นพระศรีวิสุทธิญาณ

            อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม และวามประพฤติดีงาม สมควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีผู้น้อยเคารพนับถือ ตลอดจนถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ท่านดำรงตนตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด และใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการทำงานและปฎิบัติตนให้ถูกต้อง ท่านมักกล่าวแก่ศิษย์และผู้ใกล้ชิดอยู่เสมอว่า “ใครเขาจะทะเลาะเบาะแว้งติเตียนกันก็ตาม เราก็ควรดำรงตนเป็นผู้ใหญ่พิจารณาเรื่องราวต่างๆให้รอบด้าน ไม่เข้าไปทะเลาะกับใคร” ท่านมีท่าทีประนีประนอมอยู่เสมอ ไม่หักล้างผู้ใด ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียใจหรือเสียหน้า และเป็นที่พึ่งในทางความคิดของศิษย์และเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ

            อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางพระพุทธศาสนาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่ท่านอุปสมบทและอยู่ในชีวิตฆราวาส ในเวลาต่อมาท่านได้มีส่วนริเริ่มงานสำคัญหลายเรื่อง เช่น การพัฒนาสภาการศึกษามหากุฏราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ การเผยแผ่หลักธรรมทางนวนิยาย การก่อตั้งและส่งเสริมโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศไทย และการก่อตั้งและส่งเสริมยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยและองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธิ์แห่งโลก

            นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ก็ได้มีบทบาทสำคัญในการจัดกิจกรรมต่างๆ ในนามขององค์การฯ อยู่เสมอ เช่น การประชุมทางวิชาการ การตอบปัญหาธรรมมะ การภิปราย และการจัดกิจกรรมการสอนวิปัสสนาโดยพระภิกษุชาวต่างประเทศ แต่เนื่องจากอุปนิสัยของท่านเป็นผู้ถ่อมตน สันโดษ และไม่ใส่ใจในลาภยศสรรเสริญ เช่นปุถุชนทั่วไป ท่านจึงมักทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของหน่วยงานและไม่เด่นดังเป็นที่รู้จักเช่นผู้ที่ทำงานออกหน้าทั่วไป

 

2) คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

            2.1 เป็นผู้ใฝ่รู้เป็นอย่างยิ่ง

                        อาจารย์สุชีพเป็นเปรียญ 9 ตั้งแต่อายุพรรษายังน้อย เป็นผู้ฝักใฝ่พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ได้นำเอาหลักธรรมมารจนาเป็นนิยายอิงธรรมะหลายเล่ม  อันเป็นแนวทางใหม่แห่งการประยุกต์ธรรม เช่น ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เชิงผาหิมพานต์ ฯลฯ

                        ด้วยความเป็นผู้ใฝ่รู้ทำให้ท่านได้อ่านงานเขียนของปราชญ์ตะวันตกมามาก ได้อ่านนิยายอิงธรรมะของนายคาร์ล เยลเลรูป เรื่อง The prilgrim Kamanita (กามนิต วาสิฏฐี) ได้เห็นนักปราชญ์ตะวันตกแต่งนิยายอิงธรรมะ โดยนำเอาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศานามาปะติดปะต่อแต่งเรื่องขึ้น ท่านมาคิดว่าถ้าหากจะแต่งเรื่องทำนองเดียวกันโดยเอาพระสูตรต่างๆจากพระไตรปิฎกมาเป็นข้อมูลจะได้ประโยชน์สองด้าน คือ ด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและหลักธรรมฝ่ายเถรวาท จึงได้แต่ง “ใต่ร่มกาสาวพัสตร์” และเล่มอื่นๆขึ้นเป็นสื่อสำหรับสอนพระพุทธธรรมแนวใหม่ที่ได้รับคำนิยมโดยทั่วไป          

            2.2 เป็นพหูสูต

                        ท่านมีเทคนิคการจำพุทธวจนะได้ดีเยี่ยม ท่านได้ศึกษาค้นคว้าพรไตรปิฎกจนแตกฉาน และใช้ความรู้นั้นแต่งหนังสือ พระไตรปิฎกฉบับประชาชน แสดงถึงความปราดเปรื่องในทางพระพุทธศาสนาอย่างยอดเยี่ยม

                        การที่ท่านเป็นพหูสูต ทรงจำพุทธวจนะได้มากมาย ดังสมญานามยกย่องว่าเป็น “ตู้พระไตรปิฎกเดินได้” เพราะท่านมีเทคนิควิธีในการจำ ท่านเล่าว่า พระอานนท์พุทธอนุชานั้นได้รับการยกย่องใน “เอตทัคคะ” (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) 5ประการ หนึ่งใน 5 ประการนั้นคือ “มีคติ” หมายถึง มีแนวแห่งความจำพุทธวจนะได้ดี ท่านอาจารย์สุชีพ ก็คิดหาวิธีจำพุทธวจนะตามแนวทางพระอานนท์ คือ นจะสรุปเนื้อหาโดยใช้อักษรย่อ หรือโดยแต่งเป็นฉันท์เพื่อให้จำได้

                        2.3 เป็นครูที่ดี

                                    สมัยบวชอยู่ อาจารย์สุชีพเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงและเป็นนักแสดงปาฐกถาชั้นยอด เมื่อลาสิกขามาแล้วก็เป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ จนกระทั่งสิ้นชีวิต ท่านเป็นครูที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง คือ ตั้งใจประสิทธิประสาทความรู้ มีความสุขใจที่ได้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ความเป็นครูของท่านมิใช่อยู่ในชั้นเรียน หากอยู่นอกชั้นเรียนด้วย กระทั่งอยู่ที่บ้านก็มีผู้ไปปรึกษาขอความรู้และคำแนะนำจากท่านเสมอมิได้ขาด เพราะฉะนั้นท่านอาจารย์สุชีพจึงมี “ศิษย์” ที่เคารพนับถือในตัวท่านทั่วไปทุกรุ่นทุกวัยก็ว่าได้

           

bottom of page