top of page

ชาดก

 

4. ชาดก

            ชาดก คือ เรื่องราวของพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมี เพื่อจะไปเสวยชาติเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าไว้ในสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มีทั้งหมด 547 เรื่อง แต่ในชั้นนี้จะขอเสนอเพียง 1 เรื่อง คือ เวสสันดรชาดก

 

            เวสสันดรชาดก

                       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

          พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นพระเวสสันดร พระราชโอรสของพระเจ้าสัญชัย กษัตริย์ผู้ครองนครเชตุดร แคว้นสีพี เพื่อบำเพ็ญทานบารมี พระองค์ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พราหมณ์ทั้งแปดแห่งเมือกลิงครัฐ เพื่อช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล บรรเทาความอดอยากของชาวเมือง ซึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ต้องถูกเนรเทศออกจากเมืองตามแรงผลักดันของประชาชน

            พระนางมัทรี กับพระราชโอรสและพระธิดา คือ ชาลีและกัณหา ได้ตามเสด็จไปด้วย ไปอยู่ในอาศรมในป่า ตลอดเวลาที่ทรงบำเพ็ญพรตในป่า พระเวสสันดรทรงคิดเสมอที่จะหาทางช่วยพระชายา พระโอรสธิดากลับไปยังบ้านเมืองตามเดิม เพราะไม่อยากให้ทั้ง 3 พระองค์ประสบความลำบากเหมือนกับพระองค์

            พอดีมีพราหมณ์เฒ่านามชูชก ได้บุกป่ามาขอกัณหาชาลี โดยพราหมณ์ผู้นี้เป็นชาวเมืองกลิงครัฐ เนื่องจากให้เพื่อนพราหมณ์คนหนึ่งยืมเงิน ครั้นไปทวงก็ปรากฎว่าพราหมณ์เพื่อนกันนั้นได้ใช้เงินจำนวนนั้นหมดแล้ว พราหมณ์เพื่อนกันจึงยกนางอมิตตา บุตรสาวของตนให้ชูชก ชูชกก็ดีใจไม่คิดจะทวงหนี้อีกต่อไป

            เมื่อนางอมิตตาไปอยู่กับสามี นางก็ปรนนิบัติสามีอย่างดีไม่ขาดตกบกพร่อง จนเล่าลือเป็นที่อิจฉาของเพื่อนบ้านที่มักไม่สนใจทำกิจบ้านงานเรือน เป็นเหตุให้เหล่าสามีดุด่าทุบตีที่บรรดาภรรยาของพวกตนไม่รู้จักเออย่างนางสมิตตา เมื่อนางอมิตตาไปตักน้ำ พวกหญิงทั้งหลายจึงรุมด่า เยาะเย้ยเสียดสีให้อับอาย นางจึงบังคับให้ชูชกสามีแก่ไปขอสองกุมาร คือ กัณหา ชาลี มาเป็นข้ารับใช้ ตนจะได้ไม่ถูกหญิงชาวบ้านเยาะเย้นถากถางอีกต่อไป ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ชูชกจึงเดินทางมุ่งหน้าไปยังเขาวงกต อันเป็นสถานที่บำเพ็ญพรตของพระเวสสันดร และกล่าวอ้างกับพรานเจตบุตร ผู้เฝ้าทางและอัจฤาษีว่าตนถือสารมาทูลเชิญพระเวสสันดรกลับเมืองทั้งสองหลงเชื่อจึงชี้บอกทางไปสู่อาศรมพระเวสสันดร

            เมื่อชูชกเอ่อยปากขอสองกุมาร พระโพธิสัตว์จึงประทานให้ตามที่ขอ โดยตั้งค่าสินไถ่ไว้สูงมาก คือ ชาลีมีค่าเป็นทองพันแท่ง กัณหาเป็นทองร้อยแท่ง รวมช้างม้ารถทาสหญิงชายอย่างละร้อย ชูชกพอรู้ว่ากุมารทั้งสองมีราคาสูงเช่นนั้นก็เปลี่ยนใจ ไม่พาไปหาภรรยา กลับพาไปเมืองเชตุดร แคว้นสีพี พระเจ้าปู่คือพระเจ้าแคว้นสีพีทรงไถ่สองกุมารนั้นไว้ เป็นอันว่าสองกุมารได้กลับมายังเมืองมาตุภูมิตามเดิม

            หลังจากประทานสองกุมารให้ชูชกได้ไม่นาน ก็มีพราหมณ์แต่งตัวสะอาดสะอ้าน ท่าทางภูมิฐาน ปรากฏตัวขึ้นมาทันที เอ่ยปากขอนางมัทรี พระโพธิสัตว์ทรงนึกอยู่ในใจว่าพราหมณ์คนนี้คงมิใช่คนธรรมดา อยู่ๆ ก็ปรากฏตัวขอนางมัทรี จึงเอ่ยปากประทานให้ตามที่ขอ ทันใดนั้นพราหมณืแปลงก็สำแดงภาวะแท้จริงของตนให้ปรากฏ กล่าวว่า “เราคือท้าสสกกเทวราช มาที่นี้เพื่อช่วยให้พระโพธิสัตว์บำเพ็ญทานถึงขั้นปรมัตถบารมี เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต ขออนุโมทนาด้วย” ว่าแล้วก็หายวับไปกับตา

            จากนั้นไม่นาน พระเจ้าแคว้นสีพีก็ได้ส่งกองทัพมาอัญเชิญพระเวสสันดรเสด็จนิวัติพระนคร รับสืบทอดสมบัติจากพระราชบิดา ปกครองประเทศให้สงบร่มเย็นตลอดพระชนมชีพ

            มีผู้มักจะเข้าใจผิดว่า พระเวสสันดรเป็นผู้ไม่รับผิดชอบครอบครัวและบ้านเมือง ถึงกับบริจาคชายา และพระโอรสธิดาให้เป็นทาน คล้ายกับตัดภาระการดูแลครอบครัวในฐานะที่เป็นหัวหน้าครอบครัว แสดงถึงความเป็นคนเห็นแก่ตัว และเอาตัวรอดเพียงคนเดียว กระทั่งช้างปัจจัยนาเคนทร์ช้างคู่บ้านคู่เมือง ก็ยังถือวิสาสะบริจาคให้แก่พราหมณ์ทั้งแปดแห่งเมืองกลิงครัฐแสดงถึงความไม่รับผิดชอบแก่ส่วนรวม

            ความเข้าใจผิดและการกล่าวหาในทำนองนี้มีมาช้านาน จนกระทั่งเชื่อกันส่วนมากว่าพฤติกรรมของพระเวสสันดรไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง แต่จริงๆ แล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ชาดกนี้แสดงถึงทานบารมี พระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญทานบารมีจนถึงขั้นสูงสุดคือ “ปรมัตถบารมี” ด้วยการประทานชายา พระโอรสธิดาให้เป็นทาน ซึ่งแทนที่จะเป็นการเห็นแก่ตัว เอาตัวรอดเพียงคนเดียว กลับแสดงถึงเป็นผู้เสียสละอย่างยิ่งยวด

            เมื่อทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ชูชก ก็ทรงมองออกว่าเป็นคนงก จึงวางแผนด้วยความชาญลาดเพื่อส่งพระธิดาโอรสกลับเมือง ด้วยการตั้งค่าไถ่สองกุมารไว้สูงมาก

            พราหมณ์ชูชกพอเห็นเงินมากมายมหาศาลก็ลืมนางอมิตตา นึกถึงพระเจ้ากรุงเชตุดรแคว้นสีพีขึ้นมาทันที จึงจูงสองกุมารมุ่งหน้าไปยังเชตุดร กรุงสีพี เพื่อเก็บค่าไถ่สองกุมาร

            เพราะความตะกละตะกลาม เมื่อชูชกได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากพระเจ้าสัญชัย รับประทานอาหารไม่รู้จักประมาณจนธาตุกำเริบตายในที่สุด

            ทั้งหมดนี้เป็นการวางแผนด้วยปัญญา เพื่อผลักดันให้ลูกทั้งสองกลับยังพระนครเป็นความกรุณาอันยิ่งใหญ่ที่ไม่เห็นแก่ตัวของพระเวสสันดร

            พระเวสสันดรแสดงอานิสงส์ของทานอย่างเดียวก็จริง แต่ก็มีคุณธรรมข้ออื่นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย เช่น เมตตากรุณา ความอดทน ความเพียร ปัญญา ตลอดจนความเสียสละ พระเวสสันดรนั้นเป็นผู้อดทนต่อความลำบากต่างๆ นาๆ มุ่งหน้าเพื่อบำเพ็ญคุณความดี ด้วยความพากเพียร เพื่อสะสมบารมี ให้ทานด้วยสติปัญญา และมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน ทรงยอมลำบากไม่เห็นแก่ความสุขส่วนพระองค์ หวังจะหาทางช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ ก็เพราะมีน้ำพระทัยเปี่ยมด้วยความเสียสละเป็นอย่างยิ่ง

bottom of page