top of page

พุทธประวัติ

 

๑.. พุทธประวัติ

              

                     ๑.๑ การตรัสรู้

 

เมื่อทรงผนวชแล้ว พระสิทธัตถะโคตมะได้ศึกษาค้นคว้าทางพ้นทุกข์อยู่เป็นเวลา 6 ปี หรือสามารถกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ผู้ฝึกฝนได้อย่างสูงสุด ทรงมีความเพียรเป็นเลิศ จึงได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยในช่วงเวลา 6 ปีนี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญกิริยาต่างๆ ที่เป็นการฝึกฝนตน แบ่งเป็นขั้นตอนลำดับได้ดังต่อไปนี้

    

           1. ขั้นที่ 1 ทรงฝึกปฎิบัติโยคะ   ในแคว้นมคธสมัยนั้น มีอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงอยู่ 2 ท่าน ที่สอนฝึกปฎิบัติโยคะ คือ .อาฬารดาบส กาลามโคตร กับ อุทกดาบส รามสูตร พระสิทธัตถะโคตมะทรงไปขอศึกษาและปฎิบัติอยู่กับอาจารย์ทั้งสองจนจบความรู้ของท่านทั้งสองโดยได้สำเร็จฌานสมาบัติ 7 จากอาฬารดาบส และได้ฌานสมบัติขั้นที่ 8 จากอุทกดาบส ก็ทรงทราบด้วยพระองค์เองว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง จึงอำลาอาจารย์ทั้งสองเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์โดยลำพังต่อไป

           2. ขั้นที่ 2 ทรงบำเพ็ญตบะ  หลังจากนั้นก็หันมาบำเพ็ญตบะ คือ การทรรมานตนเองให้ลำบาก ด้วยวิธีทรมานตนเองแบบต่างๆที่นักบวชชาวอินเดียนิยมทำกันเป็นจำนวนมากและเชื่อว่าเป็นแนวทางการพ้นทุกข์ทางหนึ่ง ในคัมภีร์พระไตยปิฏกบันทึกไว้ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้สาวกทั้งหลายฟังว่า พระองค์ทรงทำตบะหรือทรมานตนหลายอย่าง เช่น เปลือยกายตากลมและฝน ไม่ฉันปลาฉันเนื้อ กินโคมัย (มูลโค) ยืนเขย่งเท้า ไม่ยอมนั่ง นอนบนหนามแหลมคม ลงไปแช่น้ำเย็นจัดวันละสามเวลา เป็นต้น พระองค์ทรงทรมานตนอย่างอุกกฤษฏ์ปานฉะนี้ ก็ยังไม่ค้นพบทางแห่งความพ้นทุกข์  จึงหันมาเรื่มงานอันเป็นขั้นสุดท้ายของตบวิธี

 

           3. ขั้นที่ 3 ทรงบำเพ็ญทุกกรกริยา ทุกกรกริยา แปลว่า การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง พระองค์ทรงเล่าไว้ว่า ทรงกระทำเป็น 3 ขั้นตอนตามลำดับดังนี้ 3. ขั้นที่ 3 ทรงบำเพ็ญทุกกรกริย

                 3.1  ขั้นที่ 1 กัดฟัน คือ กัดฟันเข้าหากัน เอาลิ้นดุนเพดาน ทำนานๆจนเกิดความร้อนขึ้นในร่างกาย จนเหงื่อไหลออกจากรักแร้

                 3.2 ขั้นที่ 2 กลั้นลมหายใจ คือ กลั้นลมหายใจให้นานที่สุด จนกระทั้งหูอื้อปวดศรีษะ จุกเสียดท้อง ร้อนไปทัั่วสรรพางค์ดุจจนั่งอยู่บนกองไฟ

                 3.3 ขั้นที่ 3 อดอาหาร คือ ค่อยๆลดอาหารลงทีละน้อยๆ ในที่สุดก้ไม่เสวยอะไรเลยเป็นเวลานาน จนกระทั่งร่งกายผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก เวลาเอามือลูบกายเส้นขนก็เลื่อนหลุดออกมาเป็นกระจุก เดินไปไหนก็ซวนเซ เป็นลมแทบสิ้นชีวิต

            เมื่อพระองค์ทรงทำถึงขั้นนี้ก็ยังไม่ตรัสรู้ จึงทรงคิดว่ามิใช่หนทางที่ถูกต้องจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกริยา แล้วหันมาเสวยพระกระยาหารดังเดิม

             พระองค์ทรงตระหนักว่าแนวทางทีทรงทำมาเป็นเวลา 6 ปีเต็ม เป็นแนวทางที่ผิดพลาด ในขณะเดียวกันที่ทรงค้นพบทางสายใหม่ซึ่งเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง จากนั้น พระองค์ทรงดำเนินตามทางสายกลางอันเป็นขั้นสุดท้าย ในระหว่างนี้เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ตามมาอุปฐากขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกริยาเห้นพระองค์ทรงกลับมาเสวยพระกระยาหาร จึงเสื่อมศรัทธาหาว่าพระองค์ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว คงไม่มีทางตรัสรู้แน่ จึงพากันปลีกตัวไปอยู่เสียที่อื่น

            4. ขั้นที่ 4 ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต การบำเพ็ญเพียรทางจิต คือทรงคิดค้นหาเหตุผลทางด้านจิตใจนั้นเอง เหตุการณ์ช่วงนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระองค์ทรงเลิกทุกกรกิริยาแล้ว พระองค์ก็ทรงเสด็จไปลำพังไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้าทรงรับข้าว มธุปายาส จากนางสุชาดา ซึ่งนับมาถวายด้วยนึกว่าเป็นเทวดาที่ตนบนบานขอบุตรชายไว้ หลังจากเสวยข้าวมยุปายาสแล้ว ก็ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำ ต่อมาเวลาเย็น พระองค์เสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชรามายังฝั่งตะวันตก ทรงนำเอาหญ้ากุศะ ( แปลกันว่าหญ้าคา) 8 กำ ที่นายโสตถิยะถวายมาปูลาดเป็นอาสนะ ร โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรงนั่งประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระปฤษฎางค์ (หลัง) พิงต้นโพธิ์ ทรงเข้าสมาธิจนจิตตั้งมั่นแน่วแน่ บรรลณานทั้งสี่ ใช้ณานทั้งสี่เป็น บาท (คือเป็นพื้นฐาน) พิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติและธรรมดาทั้งหลายจนเกิดญาณ ( การหยั่งรู้) ในสื่งทังหลายตามความเป็นจริง

 

 

ความรู้แจ่มแจ้งนั้นได้ปรากฏขึ้นในพระทัยของพระองค์ดุจมองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นความสว่างโพลงภายในที่ปราศจากความสงสัยเคลือบแคลงใดๆ ความรู้นี้ได้ตอบปัญหาที่ทรงค้างพระทัยมาเป็นเวลากว่าหกปี พร้อมกับการเกิดความรู้ด้านกิเลส ที่ทรงสงสัยอยู่ในจิตใจของพระองค์ก็ได้ปลาสนาการไปหมดสิ้นการรู้แจ้งของพระองค์สามารถสรุปเป็นขั้นๆดังนี้

 

1. ในยามต้น ทรงละลึกชาติหนหลังของพระองค์ได้

2. ในยามที่สอง ทรงได้ตาทิพย์มองเห็นการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายตามผลกรรมที่ได้กระทำไว้

3. ในยามที่สาม ทรงเกิดความรู้แจ้งที่สามารถทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นี้ก็คือ กระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับทุกข์ เรียกว่าอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลารุ่งอรุณของคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เดือนหก ก่อนพุทธศักราช 45 ปี

 

 

1..2 การก่อตั้งพระพุทธศาสนา

                              หลังจากตรัสรู้แล้ว ทรงพักผ่อนเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ก็ตัดสินพระทัยออกไปเสด็จสั่งสอนครั้งแรกทีเดียวพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งเกินกว่าจะสอนให้ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสเข้าใจได้ จึงทรงคิดจะไม่ออกไปสั่งสอน แต่ด้วยพระกรุณาธิคุณในน้ำพระทัย ทรงพิจารณาเปรียบเทียบเห็นว่า สัตว์โลกมีระดับปัญญาที่แตกต่างกันดุจดอกบัวระดับต่างๆในสระ ซึ่งบุคคลที่มีสติปัญญาพอจะเข้าใจธรรมมะที่พระองค์ทรงตรัสรู้ยังพอมีอยู่ ดังนั้นจึงตัดสินพระทัยที่จะสั่งสอนธรรมมะให้แก่เวไนยสัตว์ ( บุคคลที่แนะนำสั่งสอนได้) บุคคลกลุ่มแรกที่พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเทศน์โปรด คือ ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี โดยแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่า “ปฐมเทศนา” มีใจความย่อๆอยู่สี่ตอนดังนี้

                             ตอนต้น ทรงชี้ว่ามีทาง “สุดโต่ง” อยู่สองทางที่ไม่ทำให้พ้นทุกข์คือ การหมกหมุ่นอยู่ในกามทรมานตัวเองให้ลำบาก

                             ตอนที่สอง ทรงแสดง “ทางสายกลาง” หรืออริยมรรคมีองค์แปด ว่าเป็นหนทางนำไปสู่การพ้นทุกข์           

                                            ตอนที่สาม ทรงแสดงอริยสัจ ( ความจริงอันประเสริฐ) ๔ ประการ ที่พระองค์ได้ตรัสรู้

                             ตอนสุดท้าย เป็นการสรุปการเทศนาดังนี้หลังจากการแสดงธรรมจบลง “ โกณทัญญะ” หัวหน้าปัญจวัคคีย์ได้ “ ดวงตาเห็นธรรม” จึงกราบทูลขอบวช ภายหลังปัญจวัคคีย์อีกสี่คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ก็เกิดศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์กราบทูลขอบวชเช่นกัน ต่อมาปัญจวัคคีย์ทั้งห้าได้ฟัง “ อนันตลักขณสูตร” ( พระสูตรว่าด้วยอนัตตา) ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

                                ในเวลาต่อมา ยสกุลบุตร บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีห์พร้อมด้วยสหายและบริวารจำนวน๕๕ คน ได้มากราบทูลขอบวชด้วย เป็นอันว่าในระยะเริ่มแรกนี้ พระพุทธองค์ทรงมีสาวกซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์จำนวน ๖๐ องค์ ซึ่งนับว่ามากพอสมควร จึงทรงส่งท่านเหล่านี้แยกย้านกันออกไปสั่งสอนประชาชนยังแว่นแค้นต่างๆต่อไป

                                 ส่วนพระองค์ก็เสด็จไปโปรดชฎิล ( นักบวชเกล้าผม) สามพี่น้อง พร้อมบริวารจำนวน ๑,๐๐๐ ตน ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ชฎิลทั้งหมดยอมสละความเชื่อถือเดิมกราบทูลขอบวชเป็นสาวกของพุทธองค์ หลังจากนั้นได้เสด็จไปเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสารและประชาชนจนบางส่วนได้บรรลุโสดาบัน บางส่วนได้เข้าถึงพระรัตนตรัย ( ยอมรับนับถือพระพุทธ พระธรมและพระสงฆ์อย่างมั่นคง) ส่วนพระเจ้าพิมพิสารนั้นได้ทรงถวายสวนไผ่ ( วัดเวฬุวัน) ให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

                                 ณ เมืองราชคฤห์นี้เอง มีเด็กหนุ่มสองคนซึ่งเป็นศิษย์ของนักปราชญ์เมธีผู้มีชื่อเสียง ในขณะนั้น คือ อาจารย์สัญชัยเวลัฏฐบุตร ได้มาขอบวชเป็นสาวก ซึ่งต่อมามีชื่อเรียกในทางพระพุทธศาสนาว่า “ พระสารีบุตร” และ “ พระโมคคัลลานะ” ทั้งสองท่านได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธองค์ให้เป็นอัครสาวก โดยพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ส่วนพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ซึ่งทั้งสองท่านได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายในเวลาอันรวดเร็ว

                                 หลังจากการประดิษฐานของพระพุทธศาสนามีความมั่นคงในแค้นมคธได้ไม่นานพระพุทธศานาก็ไปมีศูนย์กลางแห่งใหม่ทีเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล โดยเศรษฐีชื่ออนาถบิณฑิกะได้สร้างวัดพระเชตะวัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าภิกษุสงฆ์ไปประทับอยู่ประจำ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เศรษฐีนีอีกคนหนึ่งก็มีจิตศรัทธาสร้างวัดบุพพารามถวายอีกแห่งหนึ่งด้วย แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ได้ถวายองค์เป็นสาวกพระพุทธเจ้า และเข้าเฝ้าฟังธรรมและทูลถามปัญหาธรรมกับพระพุทธองค์เสมอ

                                  ตลอดเวลา ๔๕ ปี พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่วัดพระเชตะวันบ่อยครั้งและนานกว่าที่อื่นพระองค์ได้ตรัสสอนประชาชนที่วัดพระเชตะวันเป็นส่วนมาก ชีวิตของพระบรมศาสดาเป็นตัวอย่างของบุคคลที่ทำงานเพื่อประโยช์แก่สังคมโลกอย่างอุทิศที่สุด สังเกตจาก “พุทธกิจ ๕ ประการ” ที่พระองค์ทรงบำเพ็ญเป็นกิจวัตรทุกวัน ทรงมีเวลาพักผ่อนน้อยเหลือเกิน เวลาบรรทมไม่เกิน ๓-๔ ชั่วโมงของแต่ละวัน พระองค์ทรงมีพระโรคประจำพระองค์ คือ “ ปักขันทิกาพาธ” (โรคท้องร่วง) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำทุกกรกริยอดอาหาร ทำให้ระบบลำไส้รวนเรมาโดยตลอด กระนั้นก็ตาม พระองค์ก็ยังเสด็จไปสั่งสอนประชาชนยังแคว้นต่างๆด้วยพระมหากรุณาธิคุณโดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหน้ดเหนื่อยพระวรกายแต่อย่างใด

                                  เมื่อพระชนม์มายุย่างเข้า ๘๐ พรรษา พระองค์ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน ( สวนสาละ) ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ ท่ามกลางความเศร้าสลดของเหล่าสาวกทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต

                                   พระสรีระของพระบรมศาสดาได้ดับสลายไปแล้ว ยังคงเหลือแต่ “ พระปัจฉิมโอวาท” ที่ตรัสสั่งเหล่าสาวกในวินาทีสุดท้ายว่า “ ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงทำกิจของตนเองและกิจเพื่อผู้อื่นให้พร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

 

 

 

 

bottom of page